แนวทางการสอบสวนกรณีพนักงานสอบสวนกันผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยาน และกฎหมายมิได้ห้ามรับฟังคาซัดทอดของผู้ร่วมกระทาความผิดหรือผู้ต้องหา

เผยแพร่: 28 เม.ย. 2557 13:54 น. ปรับรุง: 28 เม.ย. 2557 13:54 น. เปิดอ่าน 28978 ครั้ง  
 

แนวทางการสอบสวนกรณีพนักงานสอบสวนกันผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยาน และกฎหมายมิได้ห้ามรับฟังคาซัดทอดของผู้ร่วมกระทาความผิดหรือผู้ต้องหา

 

โดย พันตารวจโทพันเลิศ ตั้งศรีไพโรจน์

พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ชานาญการพิเศษ กลุ่มงานคดีความเห็นแย้ง

 

 
เนื่องจากผู้เขียนมีประสบการณ์การทางานเป็นพนักงานสอบสวนในขณะที่ปฏิบัติราชการอยู่ที่สานักงานตารวจแห่งชาติและต่อเนื่องมาอยู่กรมสอบสวนคดีพิเศษประมาณ ๒๐ กว่าปี มีประสบการณ์ในการสอบสวนคดีอาญาและคดีจราจร และเป็นวิทยากรให้ความรู้ทางด้านกฎหมายเรื่องการสอบสวนให้แก่บุคลากรสานักงานตารวจแห่งชาติในปัจจุบัน อีกทั้งจากการตรวจสานวนในการเสนออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณามีความเห็นตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๓๔ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๕ พบว่าในการสอบสวนมีการกันผู้ร่วมกระทาความผิดเป็นพยานจานวนหลายคดีแทบจะทุกคดี ผู้เขียนเห็นว่าเขียนบทความนี้อาจจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่คดีพิเศษที่จะเติบโตก้าวหน้าในชีวิตราชการเปลี่ยนสายงานเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือพนักงานสอบสวนคดีพิเศษที่ไม่ได้จบทางด้านกฎหมายโดยตรง หรือยังขาดประสบการณ์ในทางานด้านสอบสวนจักได้นาบทความดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการทางานต่อไป ประกอบกับผู้เขียน เห็นว่าพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษหลายท่าน อาจจะไม่เคยมีประสบการณ์ในการสอบสวนคดีความผิดดังกล่าว จึงอยากจะถ่ายทอดความรู้ที่มีให้แก่ผู้อ่านที่สนใจทุกท่าน เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อทางกรมสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่ทุกท่านต่อไปในอนาคตหากบทความดังกล่าวมีความผิดพลาดประการใดผู้เขียนขอน้อมรับคาวิพากษ์วิจารณ์ แต่ถ้าหากบทความนี้มีประโยชน์ต่อท่านผู้เขียน ผู้เขียนขออุทิศความดีแด่บิดามารดาตลอดจนครูบาร์อาจารย์และผู้บังคับบัญชาในกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ได้ร่วมตรวจพิจารณาและร่วมทาคดีกับผู้เขียนทุกท่าน ตลอดจนท่าน พันตารวจโท วรรณพงษ์ คชรัตน์ ผู้บัญชาการสานักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งเป็นผู้ให้คาเสนอแนะตลอดจนให้แรงบันดาลใจผู้เขียนให้เขียนบทความดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ให้แก่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษตลอดจนผู้ที่สนใจทุกท่าน ถ้าหากไม่ได้ท่านแล้วผู้เขียนคงจะไม่กล้าที่จะเขียนบทความนี้ขึ้น แต่ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดอ่านแล้วเห็นว่าบทความของผู้เขียนมีประโยชน์ต่อท่าน และต้องการจะให้ผู้เขียนเขียนบทความเกี่ยวกับงานสอบสวนในคดีใด หรือคดีพิเศษใด เพื่อจักได้เป็นประโยชน์ต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษตลอดจนผู้ที่สนใจทุกท่าน ขอให้ท่านกรุณาแจ้งให้ผู้เขียนทราบ หากผู้เขียนจะพยายามถ่ายทอดความรู้เท่าที่มีนาเสนอแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน โดยผู้เขียนขอเสนอบทความดังนี้
การรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนจะมีการกันผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยานในหลายคดีด้วยกัน เนื่องจากในกฎหมายยังมิได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนที่จะให้อานาจพนักงานสอบสวนสามารถดาเนินการได้หรือไม่ อีกทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้มีบทบัญญัติใดที่ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนกันผู้กระทาผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยานแต่อย่างใด
 
๒ คาซัดทอดของผู้ร่วมกระทาความผิดหรือผู้ต้องหา หมายถึง คาให้การของผู้ที่ร่วมกระทาความผิด หรือผู้ที่ก่อให้ผู้อื่นกระทาความผิด ไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด หรือผู้ที่กระทาด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทาความผิดก่อนหรือขณะกระทาความผิด แม้ผู้กระทาความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓,๘๔,๘๖) โดยบุคคลดังกล่าวได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาหรือในฐานะพยาน โดยให้การพาดพิงไปถึงผู้ร่วมกระทาความผิดอื่นหรือผู้ต้องหาอื่นว่าเป็นผู้ร่วมกระทาความผิดในฐานะตัวการ,ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓,๘๔,๘๖ ซึ่งแนวทางปฏิบัติของพนักงานสอบสวนจะมีการดาเนินการ ๒ แนวทาง ดังนี้
แนวทางที่ ๑. พนักงานสอบสวนจะต้องทาสานวนโดยสรุปความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่จะกันเป็นพยานแล้วส่งสานวนพร้อมด้วยความเห็นในการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาดังกล่าว เนื่องจากพนักงานสอบสวนมีความจาเป็นจะต้องกันเป็นผู้ต้องหาดังกล่าวพยาน อีกทั้งถ้าไม่กันผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นพยานแล้ว พยานหลักฐานที่มีอยู่ไม่เพียงพอแก่การที่จะดาเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมด และไม่อาจแสวงหาพยานหลักฐานอื่นแทนเพื่อให้เพียงพอแก่การที่จะดาเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดนั้นได้ และผู้ต้องหาที่จะขอกันเป็นพยานนั้นเป็นผู้ที่รู้เห็นในคดีและไม่ใช่ตัวการสาคัญในคดีดังกล่าวเช่นอาจจะเป็นผู้กระทาความผิดในฐานะผู้สนับสนุน หรือเป็นตัวการกระทาความผิดก็จริงแต่พฤติการณ์ในการกระทาความผิดไม่ใช่ตัวการสาคัญ อาจเป็นแค่ผู้ที่ดูต้นทาง หรือเป็นผู้ที่ขับรถยนต์หรือยานพาหนะในการพาผู้ร่วมกระทาความผิดหลบหนี เป็นต้น รวมทั้งความคาดหมายในการที่ผู้นั้นจะเบิกความเป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดีในชั้นศาลด้วย และพนักงานอัยการเห็นควรกันผู้ต้องหาคนใดคนหนึ่งเป็นพยาน ทางพนักงานอัยการออกคาสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหานั้น จากนั้นพนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนทาการสอบสวนถ้อยคาผู้ที่กันไว้เป็นพยานนั้นเป็นพยานประกอบสานวนต่อไป เมื่อพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องแล้วเป็นหน้าที่ของ พนักงานสอบสวนจะต้องจัดการปล่อยตัวผู้ต้องหา หากผู้ต้องหาถูกขังอยู่ให้ขอต่อศาลให้ปล่อย แล้วแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบว่า เขาถูกปล่อยตัวพ้นข้อกล่าวหาไม่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีแล้ว เขามีสิทธิให้การได้ตามความสัตย์จริงทุกประการ และคาให้การนี้พนักงานสอบสวนจะสอบไว้ในฐานะเป็นพยานในคดีต่อไป โดยในการสอบสวนในฐานะบุคคลดังกล่าวในฐานะผู้ต้องหาก่อนสั่งไม่ฟ้องบุคคลนั้นเพื่อจะกันเป็นพยาน พนักงานสอบสวนควรจะสอบสวนให้ปรากฏพฤติการณ์ไว้โดยละเอียด และเมื่อสั่งไม่ฟ้องแล้วก็สอบไว้ในฐานะพยานโดยยืนยันคาให้การเดิมซึ่งให้ไว้โดยละเอียดในตอนที่เป็นผู้ต้องหา ซึ่งต้องให้สาบานหรือปฏิญาณสาบานก่อนก็ได้ และต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยพยานบุคคล เช่นพยานคนอื่นๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๓ แต่อย่างไรก็ดีถ้าพนักงานอัยการยังมิได้มีคาสั่งไม่ฟ้อง แม้จะกันผู้ต้องหาบางคนไว้เป็นพยาน ภายหลังพนักงานอัยการอาจกลับฟ้องผู้ต้องหาดังกล่าวได้ เพราะฉะนั้นพนักงานสอบสวนจะต้องรอคาสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการก่อนที่จะดาเนินการสอบสวนผู้ต้องหานั้นไว้ในฐานะพยาน
 
๓ แนวทางที่ ๒. กรณีกันผู้กระทาผิดไว้เป็นพยานแต่แรก โดยพนักงานสอบสวนจะดาเนินการสอบสวนผู้กระทาผิดในฐานะตัวการร่วม ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓,๘๔,๘๖ เป็นพยานโดยมิได้สอบสวนผู้นั้นในฐานะผู้ต้องหา เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้มีบทบัญญัติใดที่ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนกันผู้กระทาผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยานแต่อย่างใด อีกทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๑ ให้อานาจพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทาได้ แต่เมื่อพนักงานสอบสวนดาเนินการสรุปสานวนมีความเห็นทางคดีเสนอผู้บังคับบัญชาขึ้นไป ผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวน ซึ่งถือเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘ โดยผู้บังคับบัญชาอาจสั่งให้ดาเนินคดีกับผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาได้ โดยอาศัยอานาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘ วรรคท้าย หรืออาจถูกพนักงานอัยการจะสั่งเองหรือแจ้งผ่านผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนให้พิจารณาดาเนินคดีกับผู้กระทาความผิดที่กันไว้เป็นพยานได้ โดยพนักงานอัยการถือว่าการสั่งเช่นนั้นเท่ากับเป็นการสั่งให้พนักงานสอบสวนทาการสอบสวนเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๓ (๒) (ก) แต่อย่างไรก็ดีถ้าพนักงานอัยการยังมิได้มีคาสั่งไม่ฟ้องผู้กระทาความผิดดังกล่าว แม้จะกันผู้กระทาผิดบางคนไว้เป็นพยาน ภายหลังพนักงานอัยการอาจจะสั่งเองหรือแจ้งผ่านผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนให้พิจารณาดาเนินคดีกับผู้กระทาความผิดที่กันไว้เป็นพยานได้ เพราะฉะนั้นพนักงานสอบสวนที่ดาเนินการกันผู้กระทาความผิดไว้เป็นพยานในลักษณะแนวทางที่ ๒ จะต้องไม่ทาการสอบสวนผู้กระทาความผิดโดยการทาหรือจัดให้ทาการใดๆ ซึ่งเป็นการให้คามั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้กาลังบังคับ หรือกระทาการโดยมิชอบประการใดๆ เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น หากไปดาเนินการดังกล่าวถือว่าเป็นการสอบสวนที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๕ จะถือว่าเป็นการสอบสวนไม่ชอบ และจะถือเป็นพยานหลักฐานที่ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖  ในส่วนของกรมสอบสวนคดีพิเศษเท่าที่ทราบ ระเบียบเกี่ยวกับการที่พนักงานสอบสวนจะดาเนินการขอกันผู้กระทาความผิดในคดีเป็นพยาน หรือบุคคลดังกล่าวตกเป็นผู้ต้องหาแล้วยังไม่พบ พบอยู่ในคู่มือการปฏิบัติงานสืบสวนสอบสวนตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ หน้า ๑๔๓-๑๔๔ โดยให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษปฏิบัติตามระเบียบสานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดาเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๗๙. (การกันผู้ต้องหาเป็นพยาน)ในกรณีที่พนักงานสอบสวนกันผู้ต้องหาซึ่งได้ร่วมกระทาผิดด้วยกันคนใดคนหนึ่งเป็นพยาน ให้พนักงานอัยการพิจารณาโดยรอบคอบ โดยคานึงถึงว่าถ้าไม่กันผู้ต้องหาคนใดคนหนึ่งเป็นพยานแล้ว พยานหลักฐานที่มีอยู่เพียงพอแก่การที่จะดาเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดหรือไม่ ถ้อยคาของบุคคลนั้นรับฟังเป็นความสัตย์ได้เพียงใด และอาจแสวงหาพยานหลักฐานอื่นแทนเพื่อให้เพียงพอแก่การที่จะดาเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดนั้นได้หรือไม่ รวมทั้งความคาดหมายในการที่ผู้นั้นจะเบิกความเป็นประโยชน์ในการพิจารณาหรือไม่ด้วย และพึงพิจารณากันผู้กระทาความผิดน้อยที่สุดเป็นพยาน เมื่อ
 
๔  พนักงานอัยการได้วินิจฉัยตามนัยแห่งวรรคหนึ่งแล้ว และพนักงานอัยการเห็นควรกันผู้ต้องหาคนใดคนหนึ่งเป็นพยาน ให้พนักงานอัยการออกคาสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหานั้น แล้วให้พนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนทาการสอบสวนถ้อยคาผู้ที่กันไว้เป็นพยานนั้นเป็นพยานประกอบสานวนต่อไป
คาซัดทอดของผู้ร่วมกระทาความผิดหรือผู้ต้องหานั้นกฎหมายมิได้ห้ามรับฟังแต่อย่างใด เพียงแต่พนักงานสอบสวนบางท่านตีความว่าการสอบสวนผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยานในคดีจะเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๒ ที่บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อ้างจาเลยเป็นพยานนั้น ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงจาเลยในคดีเดียวกัน ผู้ที่ร่วมกระทาความผิดด้วยกัน แต่ถูกฟ้องเป็นจาเลยอีกคดีหนึ่ง ไม่ถือว่าโจทก์โจทก์อ้างจาเลยเป็นพยานซึ่งขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๒ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวได้มีคาพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๑๓/๒๕๒๐, ๙๓๐๐/๒๕๓๙, ๑๑๖๔/๒๕๔๗ ได้พิพากษาสรุปได้ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๒ บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อ้างจาเลยเป็นพยานนั้น หมายถึงจาเลยในคดีเดียวกัน ถ้าเป็นจาเลยคนละคดี โดยขณะที่จาเลยในคดีอื่นเบิกความเป็นพยานในคดีนี้ จาเลยดังกล่าวมิได้อยู่ในฐานะจาเลยในคดีดังกล่าวแต่อย่างใด
อีกทั้งคาพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๗/๒๕๑๓ ได้พิพากษาขยายความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๒ ออกไปถึงขนาดที่ว่าแม้โจทก์อ้างจาเลยที่โจทก์ได้ถอนฟ้องไปแล้ว มาเป็นพยานของโจทก์ในคดีได้โดยไม่ต้องห้ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๒ และในคาพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๔/๒๕๓๒ ได้พิพากษาสรุปได้ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๒ มิได้ห้ามผู้ที่กระทาผิดร่วมกับจาเลยเป็นพยาน  มีคาพิพากษาหนึ่งที่ปัจจุบันพนักงานสอบสวนของสานักงานตารวจแห่งชาติและพนักงานสอบสวนคดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษมักจะอ้างในเวลาถูกบังคับบัญชาถามว่าเหตุใดถึงสอบสวนผู้ร่วมกระทาความผิดเป็นพยานโดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบสานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดาเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๗๙. (การกันผู้ต้องหาเป็นพยาน) และผู้บังคับบัญชาของสานักงานตารวจแห่งชาติบางท่านมักจะนาไปสอนผู้ที่เข้าอบรมหลักสูตรสารวัตร ผู้กากับการ หลักสูตรผู้บังคับการ ของกองบัญชาการศึกษา ว่าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘,๑๙ มีอานาจสอบสวนผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยานโดยไม่จาเป็นต้องดาเนินการสอบสวนผู้กระทาผิดในฐานะตัวการร่วม ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓,๘๔,๘๖ เป็นผู้ต้องหาก่อนและไม่จาเป็นจะต้องทาสานวนโดยสรุปความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่จะกันเป็นพยานแล้วส่งสานวนพร้อมด้วยความเห็นในการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาดังกล่าว โดยอ้างว่าเนื่องจากพนักงานสอบสวนมีความจาเป็นจะต้องกันเป็นผู้ต้องหาดังกล่าวพยาน อีกทั้งถ้าไม่กันผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นพยานแล้ว พยานหลักฐานที่มีอยู่ไม่เพียงพอแก่การที่จะดาเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมด และไม่อาจแสวงหาพยานหลักฐานอื่นแทนเพื่อให้เพียงพอแก่การที่จะดาเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดนั้นได้ และผู้ต้องหาที่จะขอกันเป็นพยานนั้นเป็นผู้ที่รู้เห็นในคดีและไม่ใช่ตัวการสาคัญในคดีดังกล่าวแต่อย่างใด โดยอ้างว่า คาพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๔๔/๒๕๓๙ ซึ่ง
 
๕  พิพากษาสรุปได้ว่า “มีปัญหาว่าคาเบิกความของนาย บ.ดังกล่าวจะรับฟังได้เพียง ใด เห็นว่า แม้นาย บ.เป็นผู้ร่วมกระทาผิด แต่พนักงานสอบสวนไม่ดาเนินคดีกับนาย บ.และได้สอบสวนเป็นพยาน นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้มีบทบัญญัติใดที่ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนกันผู้กระทาผิดเป็นพยาน ดังนั้นการที่พนักงานสอบสวนกันนาย บ.เป็นพยานในคดีนี้จึงมีสิทธิทาได้โดยชอบ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าการที่นาย บ.ให้การต่อพนักงานสอบสวนตามเอกสารหมาย จ.๓๑ ตลอดจนเบิกความต่อศาลเกิดจากการจูงใจ ให้คามั่นสัญญา ของพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๕ และ ๒๒๖ นาย บ.ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจาเลยที่ ๑ มาก่อน ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะปรักปราจาเลยที่ ๑ คาเบิกความของนาย บ.เชื่อมโยงสอดคล้องสมเหตุผล แม้จะเป็นคาซัดทอดของผู้ร่วมกระทาผิดด้วยกัน แต่ก็มิได้เป็นการซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอด นั้นแต่อย่างใด จึงรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมได้”
และในคดีดังกล่าวยังมีคาพิพากษาของศาลอุทธรณ์สนับสนุนการดาเนินการสอบสวนโดยวิธีดังกล่าว โดยพิพากษาสรุปได้ว่า “ที่จาเลยที่ ๒ และที่ ๔ อุทธรณ์ว่า พนักงานสอบสวนกันนาย บ.ไว้เป็นพยานโดยไม่แจ้งข้อหา โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีอานาจฟ้องนั้น เห็นว่า แม้พนักงานสอบสวนไม่แจ้งข้อหาแก่นาย บ. แต่เมื่อสอบสวนนาย บ.แล้ว เห็นว่านาย บ.เป็นพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ จึงกันนาย บ.ไว้เป็นพยานได้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามฟ้องคดีผู้ต้องหาหรือจาเลยอื่นก่อนแจ้งข้อหาแก่ ผู้ต้องหาที่กันเป็นพยาน ทั้งพนักงานสอบสวนได้สอบสวนจาเลยคดีนี้และพยานอื่นในความผิดตามฟ้องแล้ว คดีจึงมีการสอบสวนโดยชอบ โจทก์จึงมีอานาจฟ้อง การที่โจทก์ร่วมถือเอาคาฟ้องของโจทก์เป็นคาฟ้องของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงมีอานาจฟ้องเช่นกัน
อีกทั้งพนักงานสอบสวนถือว่าการสอบสวนผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยานเลย เป็นการดาเนินการรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะกระทาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๑
แต่ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๒ ได้บัญญัติเพิ่มเติม มาตรา ๒๒๗/๑ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยบัญญัติว่า “ในการวินิจฉัยชั่งน้าหนักพยานบอกเล่า พยานซัดทอด พยานที่จาเลยไม่มีโอกาสถามค้าน หรือพยานหลักฐานที่มีข้อบกพร่องประการอื่นอันอาจกระทบถึงความน่าเชื่อถือของ พยานหลักฐานนั้น ศาลจะต้องกระทาด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลาพังเพื่อลงโทษจาเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน
พยานหลักฐานประกอบตามวรรค หนึ่ง หมายถึง พยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้ และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบ นั้น ทั้งจะต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ไป ประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย
 
๖ โดยสังเกตว่า ในการวินิจฉัยชั่งน้าหนักพยานของศาล พยานซัดทอด ถ้ามีข้อบกพร่องประการอื่นอันอาจกระทบถึงความน่าเชื่อถือของ พยานซัดทอดนั้น ศาลจะต้องกระทาด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลาพังเพื่อลงโทษจาเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน
การที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจาเลยโดยอาศัยพยานซัดทอดจะต้องประกอบด้วยมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน ซึ่งหมายถึง มีพยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบนั้น รวมทั้งต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ไปประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย ซึ่งในข้อกฎหมายดังกล่าวมีคาพิพากษาฎีกาสนับสนุน คือคาพิพากษาฎีกาที่ ๗๙๔๒/๒๕๕๑ พิพากษาสรุปได้ว่า “คดีนี้โจทก์มิได้มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจาเลยเป็นผู้กระทาความผิด คงมีแต่คาให้การซัดทอดของนาย ช.ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนซึ่งเป็นคาซัดทอดที่มีพิรุธและน่าจะมีมูลเหตุจูงใจเพราะอาจเป็นการซัดทอดเพื่อปกปิดความผิดให้บุคคลอื่นหรือให้การซัดทอดตามข้อสันนิษฐานของเจ้าพนักงานตารวจหรืออาจถูกบังคับขู่เข็ญ เห็นว่า ฎีกาดังกล่าวเป็นแต่เพียงการคาดคะเนของจาเลย คาให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของนาย ช.แม้จะมีลักษณะเป็นคาซัดทอดในระหว่างผู้ต้องหาด้วยกันก็ตาม แต่บทบัญญัติของกฎหมายก็มิได้ห้ามมิให้รับฟังคาให้การเช่นว่านี้เสียทีเดียว เพียงแต่ต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง หากการซัดทอดมีเหตุผลรับฟังได้ ศาลก็มีอานาจรับฟังประกอบการพิจารณาได้ ทั้งคาให้การดังกล่าวไม่ปรากฏว่ามีเหตุจูงใจว่าให้การเพื่อให้ตนพ้นความผิดหรือได้รับประโยชน์แต่อย่างใด จึงรับฟังคาให้การของนาย ช.ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ที่นาสืบได้ ทั้งนาย ช.เป็นเพื่อนกับจาเลยมีความสนิทสนมกัน หากจาเลยไม่ได้ร่วมกับนาย ช.กระทาความผิดจริงก็ไม่มีเหตุที่นาย ช.จะให้การซัดทอดจาเลยเพื่อให้จาเลยต้องรับโทษ ส่วนที่นาย ช.มาเป็นพยานจาเลยเบิกความว่า นาย ช.ร่วมกับนาย อ.ลักเครื่องยนต์ของผู้เสียหายโดยจาเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยนั้น แต่ก็มิได้เบิกความถึงเรื่องคาให้การชั้นสอบสวนที่เกี่ยวกับจาเลย จึงน่าจะเป็นลักษณะที่จะช่วยเหลือจาเลยมากกว่าที่จะเบิกความไปตามความเป็นจริง ประกอบกับตัวจาเลยเองยังให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนและนาพันตารวจโทสมชื่อพนักงานสอบสวนพยานโจทก์ไปชี้ที่เกิดเหตุแสดงท่าทางต่างๆ ให้ถ่ายรูปประกอบคารับสารภาพ ที่จาเลยนาสืบว่า ไม่ได้ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจ แต่ให้การรับสารภาพเพราะถูกเจ้าพนักงานตารวจทาร้ายร่างกาย ข้อต่อสู้ของจาเลยดังกล่าวก็เลื่อนลอยรับฟังเป็นความจริงไม่ได้ นอกจากนี้ได้ความจากคาเบิกความของจ่าสิบตารวจสมศักดิ์พยานโจทก์ ผู้จับกุมจาเลยประกอบสาเนาบันทึกการจับกุมว่า ในทันทีที่จาเลยถูกจับกุม นอกจากจาเลยให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกับนาย ช.ลักเครื่องยนต์ของผู้เสีย หาย จาเลยยังร่วมกับนาย ช.พาจ่าสิบตารวจสมศักดิ์ไปยึดเครื่องยนต์ของผู้เสีย หายที่ถูกลักไปได้จากทุ่งนาหลังบ้านจาเลยมาเป็นของกลางอีกด้วย ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๖ วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ที่
 
๗  นาสืบประกอบกันมีน้าหนักรับฟังได้ว่า จาเลยเป็นคนร้ายร่วมกับนาย ช.กระทาความผิดตามฟ้องโดยยกเหตุผลการรับฟังไว้โดยละเอียดแล้วนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาของจาเลยฟังไม่ขึ้น”
ซึ่งจากคาพิพากษาฎีกาดังกล่าวจะสังเกตเห็นได้ว่าการที่ นาย อ.ผู้ร่วมกระทาความผิดหรือผู้ต้องหาในคดีดังกล่าวจะให้การในชั้นสอบสวนว่าได้ร่วมกระทาความผิดกับ นาย ช. แล้วต่อมา นาย ช.ได้อ้าง นาย อ.เป็นพยานของจาเลยในคดีนี้ได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๒ ที่บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อ้างจาเลยเป็นพยานนั้น และ นาย อ.ได้เบิกความยืนยันว่า นายช.จาเลยในคดีนี้มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยนั้น แต่ก็มิได้เบิกความถึงเรื่องคาให้การชั้นสอบสวนที่เกี่ยวกับจาเลย ศาลฎีกามองว่าเป็นลักษณะที่เบิกความช่วยเหลือจาเลยมากกว่าที่จะเบิกความไปตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นข้อพึงระวังของพนักงานสอบสวนว่าการสอบสวนผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยานนั้น ผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาอาจถูกอ้างเป็นพยานของจาเลยในคดีและอาจเบิกความกลับคาให้การในชั้นสอบสวนเพื่อช่วยเหลือผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาด้วยกันเพื่อให้พ้นผิด ถ้าหากพนักงานสอบสวนไม่ทาการสอบสวนโดยรวบรวมพยานหลักฐานอื่นประกอบด้วยเพื่อให้พยานหลักฐานในคดีมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุนเพื่อให้ศาลเชื่อว่าจาเลยในคดีกระทาความผิดจริง ก็อาจเป็นเหตุให้ศาลต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จาเลยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ ดังเช่น คาพิพากษาฎีกาที่ ๒๗๕/๒๕๕๑ ซึ่งพิพากษาสรุปได้ว่า “คดีนี้ผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ไม่ได้มาเบิกความเป็นพยาน โจทก์คงอ้างส่งคาให้การของผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ และคาให้การเพิ่มเติมเอกสารหมาย จ.๑๐ และ จ.๑๑ ว่า ผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ถูกพวกคนร้ายบังคับให้ไปกับพวกคนร้ายกลุ่มแรก ๕ คน คนร้ายทั้งห้าพาผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ไปที่องค์การบริหารส่วนตาบลบางแขม และเมื่อมีพวกคนร้ายดังกล่าวอีก ๕ คน มาสมทบคนร้ายทั้งหมดก็พาผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ไปที่บ้านร้างในป่าช้าวัดลาดปลาเค้าสถานที่เกิดเหตุและถูกพวกคนร้ายทั้งหมด ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันข่มขืนกระทาชาเรา โดยผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ไม่ยินยอม แต่ปรากฏในคาให้การของผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ เอกสารหมาย จ.๑๐ และ จ.๑๑ ว่าผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ไม่ได้ให้การถึงจาเลยนี้ว่าร่วมกระทาความผิดด้วย จนกระทั่งต่อมาอีก ๒ เดือนเศษ ผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ จึงมาให้การเพิ่มเติม แต่คงมีเพียงผู้เสียหายที่ ๓ ที่ให้การเพิ่มเติมว่าจาเลยร่วมเป็นคนร้ายนี้ด้วย โดยจาเลยเป็นคนร้ายหนึ่งใน ๕ คนแรกที่บังคับให้ผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ออกเดินทางจากบริเวณโรงภาพยนตร์เพชรเกษม โดยผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ไม่ยินยอมและจาเลยร่วมข่มขืนกระทาชาเราผู้เสียหายที่ ๓ ในครัวกับในห้องนอนของบ้านเกิดเหตุ ส่วนผู้เสียหายที่ ๑ ยังคงไม่ให้การถึงจาเลยว่าเป็นคนร้ายด้วยอย่างไร ทั้งที่พนักงานสอบสวนนาภาพถ่ายของจาเลยกับพวกคนอื่นๆ ให้ผู้เสียหายที่ ๑ ดู และผู้เสียหายที่ ๓ ก็ให้การเพิ่มเติมว่าจาเลยอยู่ร่วมในเหตุการณ์ตั้งแต่แรก ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นผู้เสียหายที่ ๑ ย่อมมีโอกาสเห็นหน้าจาเลยเป็นระยะเวลานานพอสมควร ดังนี้ คาให้การของผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ จึงไม่สอดคล้องกันทาให้มีข้อสงสัยอยู่ตามสมควร และแม้โจทก์ได้อ้างส่งวิดีโอเทปบันทึกภาพถ่ายระหว่างการสอบสวนผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพันตารวจตรี ม.ได้สอบคาให้การของผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ โดยชอบต่อหน้าพนักงานอัยการและ
 
๘  นักจิตวิทยา ซึ่งศาลมีอานาจรับฟังสื่อภาพและเสียงคาให้การของพยานปากผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ได้เสมือนผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ มาเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๒ ตรี วรรคสี่ แต่อย่างไรก็ตามโจทก์จะต้องมีพยานหลักฐานอย่างอื่นประกอบด้วยจึงจะทาให้พยานหลักฐานของโจทก์มีน้าหนักมั่นคงว่าจาเลยร่วมเป็นคนร้ายได้ แต่โจทก์ก็นาสืบโดยอ้างเพียงผู้เสียหายที่ ๒ มารดาผู้เสียหายที่ ๑ และพันตารวจตรี ม.พนักงานสอบสวนเป็นพยานซึ่งผู้เสียหายที่ ๒ ก็เบิกความประกอบคาให้การของตนเองตามบันทึกคาให้การเอกสารหมาย จ.๙ เพียงว่า พยานอนุญาตให้ผู้เสียหายที่ ๑ ออกไปหาของกินนอกบ้านกับผู้เสียหายที่ ๓ ผู้เสียหายที่ ๒ จึงไม่รู้เห็นเหตุการณ์ร้ายที่เกิดแก่ผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ เลย ส่วนพันตารวจตรี ม.ก็เป็นเพียงผู้สอบปากคาผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ไม่รู้เห็นเหตุการณ์เกี่ยวกับการกระทาความผิดของจาเลยโดยตรง จึงเป็นเพียงพยานบอกเล่าเช่นกัน สาหรับคาให้การของนาย ป. กับนาย พ. ที่ถูกฟ้องอีกคดีหนึ่งให้การไว้ตามบันทึกคาให้การของผู้ต้องหาเอกสารหมาย จ.๑๓ และ จ.๑๔ ว่าจาเลยเป็นคนร้ายรายนี้ด้วย แต่คาให้การดังกล่าวเป็นเพียงคาซัดทอดขายของคนร้าย และเมื่อโจทก์ไม่ได้อ้างบุคคลทั้งสองเป็นพยานในคดีนี้ คาให้การของบุคคลทั้งสองในอีกคดีหนึ่งจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่า มีน้าหนักในการรับฟังน้อย ไม่อาจรับฟังประกอบคาให้การของผู้เสียหายที่ ๑ และที่ ๓ ให้มีน้าหนักมั่นคงได้ ดังนั้นพยานหลักฐานที่โจทก์นาสืบมาดังกล่าวจึงยังไม่มีน้าหนักเพียงพอให้รับฟังว่าจาเลยร่วมเป็นคนร้ายรายนี้ด้วย ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคาพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๗ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวที่ยกฟ้องโจทก์”
จากคาพิพากษาฎีกาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าได้ตัดสินยกฟ้องจาเลยเนื่องจากพยานหลักฐานในคดีไม่น่าเชื่อถือ และพยานในคดีส่วนใหญ่เป็นพยานบอกเล่า พยานซัดทอดที่เป็นพยานบอกเล่า อีกทั้งประจักษ์พยานซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีมีข้อบกพร่องประการอื่นกระทบถึงความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น ให้การไม่สอดคล้องกันทาให้มีข้อสงสัยอยู่ตามสมควร ถึงแม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๒ ตรี วรรคสี่ จะบัญญัติให้ศาลรับฟังสื่อภาพและเสียงคาให้การของพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี เสมือนหนึ่งเป็นคาเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของศาลได้ แต่ศาลจะต้องรับฟังประกอบพยานอื่นในการพิจารณาพิพากษาคดี ในคดีนี้ขนาดผู้เสียหายยืนยันว่าจาเลยเป็นผู้ร่วมกระทาความผิด และคาให้การของผู้ร่วมกระทาความผิดซึ่งเป็นจาเลยในคดีอื่นประกอบก็ตาม แต่เนื่องจากโจทก์ไม่ได้อ้างจาเลยในคดีอื่นซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทาความผิดเป็นพยานในคดีนี้เพื่อเบิกความว่าจาเลยในคดีนี้ร่วมกระทาความผิด เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสงสัยตามสมควรว่าจาเลยได้กระทาผิดหรือไม่ ศาลก็ยกประโยชน์ความสงสัยให้จาเลยไป โดยยกฟ้องว่าจาเลยไม่ได้กระทาความผิด
บทสรุป ซึ่งจากบทความดังกล่าวข้างต้นได้ชี้ให้เห็นว่า การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานสอบสวนคดีพิเศษจะทาการสอบสวนรวมรวมพยานหลักฐานโดยดาเนินการสอบสวนผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยาน นั้นจะต้องคานึงในเรื่องเหล่านี้
๑. ในกรณีพนักงานสอบสวนสรุปสานวนพร้อมด้วยความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาโดยมีการสอบสวนผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยานโดยมิได้มีการสอบสวนผู้นั้นในฐานะผู้ต้องหา
 
๙  เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้มีบทบัญญัติใดที่ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนกันผู้กระทาผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยานแต่อย่างใดนั้น
ข้อพึงระวังคือ ผู้บังคับบัญชามีอานาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘ วรรคท้าย สั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาพยานเพื่อเป็นผู้ต้องหาเพิ่มเติม แล้วให้สรุปสานวนใหม่โดยให้มีความเห็นทางคดีว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาเพราะเหตุใด ให้อ้างเหตุผลและความจาเป็นที่จะกันผู้กระทาความผิดดังกล่าวเป็นพยานก็ต้องดาเนินการ โดยอ้างว่าเนื่องจากพนักงานสอบสวนมีความจาเป็นจะต้องกันเป็นผู้ต้องหาดังกล่าวพยาน อีกทั้งถ้าไม่กันผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นพยานแล้ว พยานหลักฐานที่มีอยู่ไม่เพียงพอแก่การที่จะดาเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมด และไม่อาจแสวงหาพยานหลักฐานอื่นแทนเพื่อให้เพียงพอแก่การที่จะดาเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดนั้นได้ และผู้ต้องหาที่จะขอกันเป็นพยานนั้นเป็นผู้ที่รู้เห็นในคดีและไม่ใช่ตัวการสาคัญในคดีดังกล่าวเช่นอาจจะเป็นผู้กระทาความผิดในฐานะผู้สนับสนุน หรือเป็นตัวการกระทาความผิดก็จริงแต่พฤติการณ์ในการกระทาความผิดไม่ใช่ตัวการสาคัญ รวมทั้งความคาดหมายในการที่ผู้นั้นจะเบิกความเป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดีในชั้นศาลด้วย และพนักงานสอบสวนดังกล่าวควรจะประสานกับพนักงานอัยการอย่างใกล้ชิด เพื่อชี้แจงเหตุผลและความจาเป็นในการที่เห็นควรกันผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาคนใดคนหนึ่งเป็นพยาน เมื่อมีคาสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหานั้นแล้ว จากนั้นพนักงานอัยการออกคาสั่งให้พนักงานสอบสวนทาการสอบสวนถ้อยคาผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาที่กันไว้เป็นพยานนั้นเป็นพยานประกอบสานวนต่อไป
๒. ในกรณีพนักงานสอบสวนส่งสานวนให้พนักงานอัยการมีความเห็นทางคดีสั่งฟ้องผู้ต้องหาไปแล้ว พนักงานอัยการอาจจะสั่งหรือเสนอแนะให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาพยานที่เป็นผู้ร่วมกระทาความผิดหรือผู้ต้องหาที่พนักงานสอบสวนได้กันบุคคลดังกล่าวเป็นพยาน โดยมิได้สอบสวนผู้ร่วมกระทาความผิดหรือผู้ต้องหาดังกล่าวไว้ในฐานะผู้ต้องหา เพื่อเป็นผู้ต้องหาเพิ่มเติมแล้วให้ส่งตัวพยานดังกล่าวไปยังพนักงานอัยการเพื่อดาเนินการพิจารณาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๒ ซึ่งถ้าพนักงานสอบสวนไม่ดาเนินการก็อาจจะมีปัญหาในการที่จะถูกผู้ต้องหาหรือผู้ที่ได้รับความเสียหายฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้ แต่ถ้าพนักงานสอบสวนไม่ดาเนินการตามคาสั่งหรือคาเสนอแนะของพนักงานอัยการดังกล่าวข้างต้น โดยพิจารณาว่าพนักงานสอบสวนมีอานาจเนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้ห้ามไว้ดังเช่น คาพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๔๔/๒๕๓๙ เท่าที่ผู้เขียนรับราชการอยู่ที่สานักงานตารวจแห่งชาติไม่เคยได้ยินว่าพนักงานสอบสวนที่ดาเนินการดังกล่าวได้ถูกตั้งกรรมสอบสวนทางวินัยแต่อย่างใด แต่มีพนักงานสอบสวนบางท่านถูกจาเลยในคดีฟ้องทั้งทางแพ่งและทางอาญาอยู่บ่อยครั้ง แต่ไม่ทราบว่าผลสุดท้ายคดีจบอย่างไร
๓. ในกรณีที่พนักงานสอบสวนได้รับคาสั่งหรือคาแนะนาจากพนักงานอัยการตามข้อ ๒ หรือพนักงานอัยการพิจารณาเห็นควรดาเนินคดีกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีไม่ว่าจะเป็นพยานหรือบุคคลภายนอกที่พาดพิงถึงแล้ว พนักงานสอบสวนไม่ปฏิบัติตาม แต่กลับทาความเห็นสั่งไม่ฟ้องส่งสานวนไปยังพนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนสามารถกระทาได้โดยชอบ แต่เมื่อพนักงานอัยการมี
 
๑๐  คาสั่งประการใด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๑ กาหนดให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติไปตามนั้น หากพนักงานอัยการเห็นว่าควรสั่งฟ้องและให้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามา ก็ให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเพื่อดาเนินการต่อไป ซึ่งเท่าที่ผู้เขียนรับราชการมามักจะพบว่า หากพนักงานอัยการออกคาสั่งหรือคาเสนอแนะดังกล่าวแล้ว พนักงานสอบสวนดาเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดาเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๗๙ ทางพนักงานอัยการจะสั่งให้พนักงานสอบสวน ทาการสอบสวนถ้อยคาผู้ที่กันไว้เป็นพยานนั้น เป็นพยานประกอบสานวนต่อไป ภายหลังจากมีคาสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้ว
๔. แต่อย่างไรก็ตามพนักงานสอบสวนจะต้องคานึงถึงข้อดีหรือข้อเสียในการที่พนักงานสอบสวนจะกันผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยาน เนื่องจากพยานลักษณะดังกล่าวถึงแม้กฎหมายมิได้ห้ามรับฟังแต่อย่างใด แต่พนักงานสอบสวนจะต้องกระทาด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลาพังเพื่อมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาอื่นที่ร่วมกระทาความผิดในฐานะตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘๓,๘๔,๘๖ เว้นแต่พนักงานสอบสวนจะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุนพยานหลักฐานประกอบคาให้การของพยานดังกล่าว หมายถึง พยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้ และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบ นั้น ทั้งจะต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ไป ประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย และผู้ต้องหาหรือผู้กระทาความผิดนั้นจะต้องเป็นผู้ที่กระทาความผิดน้อยที่สุด เช่น อาจจะเป็นเพียงผู้สนับสนุน หรือถึงแม้จะเป็นตัวการร่วมก็จริงอาจจะเป็นเพียงแค่คนดูต้นทาง หรือเป็นผู้ที่ขับรถยนต์หรือยานพาหนะมาคอยรับส่งผู้กระทาความผิดด้วยกัน เป็นต้น แต่ไม่ใช่ไปกันผู้กระทาความผิดมากที่สุดเป็นพยาน เพื่อดาเนินคดีกับผู้ที่กระทาความผิดน้อยที่สุด เช่น ไปกันผู้ใช้ให้ไปฆ่าบุคคลอื่นมาเป็นพยานเพื่อยืนยันการกระทาความผิดของผู้กระทาความผิดที่เป็นมือปืนไปฆ่าคนตายตามคาสั่งของผู้ใช้เป็นต้น อีกทั้งพยานดังกล่าวถือเป็นพยานซัดทอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗/๑ พยานประเภทนี้ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจะให้น้าหนักในการรับฟังน้อยมาก หากไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนพยานหลักฐานประกอบคาให้การของพยานดังกล่าว ศาลมักจะยกฟ้องโดยยกประโยชน์ความสงสัยให้จาเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ วรรคสอง ดังเช่น คาพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๘๖/๒๕๕๑ ซึ่งสรุปให้เห็นว่าถึงแม้ผู้ต้องหาที่ร่วมกระทาความผิดจะให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวน ว่าร่วมกระทาความผิดโดยให้การพฤติการณ์ในการกระทาความผิดของผู้ต้องหาแต่ละคนว่าร่วมกระทาความผิดอย่างไร และพบของกลางในความครอบครองของผู้ต้องหาด้วยก็ตาม แต่ผู้ต้องหาดังกล่าวตกเป็นจาเลยมาเบิกความในชั้นศาลโดยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา อีกทั้งในคดีดังกล่าวไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้ และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบนั้น ทั้งจะต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ไป ประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วยมีแต่คารับ
 
๑๑  สารภาพของผู้ต้องหาทั้งหมดในชั้นจับกุมและสอบสวนและพบของกลาง ศาลฎีกายังพิพากษายกฟ้องจาเลยทั้งหมดโดยอ้าง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ วรรคสอง  บทส่งท้าย การรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนโดยการกันผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยานนั้น เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของพนักงานสอบสวนเพื่อจะพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๑ เนื่องจากในกฎหมายยังมิได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนที่จะให้อานาจพนักงานสอบสวนสามารถดาเนินการได้หรือไม่ อีกทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้มีบทบัญญัติใดที่ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนกันผู้กระทาผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยาน แต่อย่างใดก็ตามการดาเนินการดังกล่าวพนักงานสอบสวนจะต้องพิจารณาโดยรอบคอบ โดยต้องคานึงถึงว่าถ้าไม่กันผู้ต้องหาหรือผู้กระทาความผิดคนใดคนหนึ่งเป็นพยานแล้ว พยานหลักฐานที่มีอยู่เพียงพอแก่การที่จะดาเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดหรือไม่ ถ้อยคาของบุคคลนั้นรับฟังเป็นความสัตย์ได้เพียงใด และอาจแสวงหาพยานหลักฐานอื่นแทนเพื่อให้เพียงพอแก่การที่จะดาเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดนั้นได้หรือไม่ รวมทั้งความคาดหมายในการที่ผู้นั้นจะเบิกความเป็นประโยชน์ในการพิจารณาหรือไม่ด้วย และพึงพิจารณากันผู้กระทาความผิดน้อยที่สุดเป็นพยาน แต่ถ้าหากในคดีดังกล่าวมีพยานหลักฐานที่มีอยู่เพียงพอแก่การที่จะดาเนินคดีกับผู้ต้องหาหรือผู้กระทาความผิดที่ถูกกันไว้เป็นพยานและผู้ต้องหาหรือผู้กระทาความผิดทั้งหมด หรืออาจแสวงหาพยานหลักฐานอื่นแทนเพื่อให้เพียงพอแก่การที่จะดาเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดนั้นได้ การกระทาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเบื้องต้นอาจถูกมองว่าไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงแห่งชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสาคัญของประเทศได้ แต่ใน พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๓๒ และข้อบังคับ กคพ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนร่วมกันหรือการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันในคดีพิเศษระหว่างพนักงานสอบสวนคดีพิเศษกับพนักงานอัยการหรืออัยการทหาร พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ที่ท่านอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(นายธาริต เพ็งดิษฐ์) ได้ร่วมพิจารณาร่างกฎหมายและข้อข้อบังคับ กคพ.ดังกล่าวสามารถนามาใช้ประโยชน์ในการที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษจะดาเนินการกันผู้กระทาผิดหรือผู้ต้องหาเป็นพยานได้ ซึ่งสอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนในกระบวนยุติธรรมทางอาญา โดยสรุปการคุ้มครองสิทธิ มีดังนี้ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรมหากพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษสามารถปฏิบัติได้นี้โอกาสที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษจะถูกผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทาของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและทางอาญาตลอดจนถูกดาเนินการทางวินัยคงไม่มี
 
พันตารวจโทพันเลิศ ตั้งศรีไพโรจน์
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ชานาญการพิเศษฯ
ปฏิบัติราชการ กลุ่มงานคดีความเห็นแย้ง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๓

เอกสารที่เกี่ยวข้อง