DSI ส่งเจ้าหน้าที่ร่วมประชุมอาชญากรรมไซเบอร์ในอาเซียน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อรับมือภัยไซเบอร์คุกคามทั่วโลก

เผยแพร่: 24 ม.ค. 2567 16:19 น. ปรับรุง: 2 ก.พ. 2567 11:10 น. เปิดอ่าน 784 ครั้ง   EN
 



ระหว่างวันที่ 22-25 มกราคม 2567 พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มอบหมายให้นางสาวปัทมาภรณ์ กฤษณายุทธ ศิริวัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการส่วนคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ1 และนายเอกชัย พ่วงพรพิทักษ์ ผู้อำนวยการส่วนคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ2 เดินทางไปราชการต่างประเทศ เพื่อเข้าร่วมประชุมการพัฒนาศักยภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Enhancing Capabilities Against Cybercrime in Southeast Asia) ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ในการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นโดยโครงการ UNODC Global Program on Cybercrime ของสำนักงานว่าด้วย
ยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (
United Nations Office on Drugs and Crime : UNODC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันข้อมูลและวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับอาชญากรรมไซเบอร์ พูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยน
ด้านการป้องกัน การดำเนินคดี และการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบังคับ
ใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และไทย เข้าร่วมประชุมกว่า 30 คน

นางสาวปัทมาภรณ์ ผอ.ส่วนคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ 1 กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดี
ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์กับหน่วยงานบังคับ
ใช้กฎหมายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเด็นที่ได้มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนกันในการประชุม ได้แก่ แนวทาง
ในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ เทคนิคการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมไซเบอร์ และแนวทางในการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในการปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ ซึ่งจะช่วยให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ สามารถนำมาปรับใช้และได้พัฒนาศักยภาพการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทางด้านนายเอกชัย ผอ.ส่วนคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ2  กล่าวถึงการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ว่า อาชญากรรมไซเบอร์เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลก มีการขยายตัวของเทคโนโลยีและการสื่อสารอย่างรวดเร็ว ความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากอาชญากรรมไซเบอร์มักเกิดขึ้นข้ามพรมแดน ดังนั้น หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในภูมิภาคจึงควรร่วมมือกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ รวมทั้งประสานความร่วมมือในการสืบสวนสอบสวน
และดำเนินคดีกับอาชญากรไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ

กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม มีความร่วมมือกับสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม
แห่งสหประชาชาติ (
UNODC) ในหลายด้าน เช่น สนับสนุนการจัดประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ การสืบสวนสอบสวนคดีละเมิดทางเพศและแสวงประโยชน์จากเด็กออนไลน์ การพัฒนาระบบฐานข้อมูล ฯลฯ และจากการเข้าร่วมโครงการอบรมด้านต่าง ๆ
ของ
UNODC อย่างต่อเนื่อง ทำให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ นำความรู้ไปใช้ในการสืบสวนสอบสวน จนสามารถจับกุมผู้ต้องหาในคดีสำคัญๆ ได้หลายคดี

----------------------------------

ลงวันที่ 24 มกราคม 2567



เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ข่าวที่น่าสนใจ