“เป็นพระมหากรุณาธิคุณ” สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และ สมเด็จพระราชินีซิลเวีย แห่งราชอาณาจักรสวีเดน เสด็จร่วมงาน Child Protection Summit, Bangkok 2024 World Childhood X Safeguard kids ยุติธรรม มหาดไทย พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมมือเดินหน้าป้องเด็กไทยถูกละเมิดทางเพศออนไลน์-ออฟไลน์
เผยแพร่: 18 พ.ค. 2567 17:24 น. ปรับรุง: 23 พ.ค. 2567 7:37 น. เปิดอ่าน 3011 ครั้ง EN“เป็นพระมหากรุณาธิคุณ” สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และ สมเด็จพระราชินีซิลเวีย แห่งราชอาณาจักรสวีเดน เสด็จร่วมงาน Child Protection Summit, Bangkok 2024 World Childhood X Safeguard kids ยุติธรรม มหาดไทย พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมมือเดินหน้าป้องเด็กไทยถูกละเมิดทางเพศออนไลน์-ออฟไลน์
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และ สมเด็จพระราชินีซิลเวีย เรนาเทอ ซอมแมร์ลัธ แห่งราชอาณาจักรสวีเดน เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเข้าร่วมและพระราชทานพระราชดำรัสเปิดการประชุมการคุ้มครองเด็ก “Child Protection Summit, Bangkok 2024” จัดโดยมูลนิธิเด็กโลก (World Childhood Foundation) ในสมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งราชอาณาจักรสวีเดน และมูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครองเด็ก (Safeguard kids Foundation) ประเทศไทย ร่วมด้วยภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม อาทิ กระทรวงมหาดไทย (มท.) สมาคมแม่บ้านมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ TIJ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เดอะ มอลล์ กรุ๊ป สยามพิวรรธน์ เป็นต้นโดย พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษและผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เฝ้าฯ รับเสด็จ
ในการประชุมดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกะทรวงยุติธรรมร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในงานเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กและเยาวชน การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการเดินหน้าพิทักษ์และต่อต้านการล่วงละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กไทยในทุกช่องทาง โดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ที่กำลังลุกลามแบบก้าวกระโดดนับตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ให้มีปราการที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อหยุดยั้งการละเมิดทางเพศในเด็ก เสริมสร้างกฎหมายที่เข้มแข็งเพื่อปกป้องเด็กและเยาวชน และป้องปรามผู้กระทำผิดให้เกรงกลัวต่อโทษทัณฑ์พร้อมผลักดันให้สังคมปฏิเสธการดำรงอยู่ของปัญหานี้ จนการล่วงละเมิดสิทธิเด็กในทุกมิติหมดไปจากสังคมไทย ผ่านพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกทำร้ายและถูกล่วงละเมิดทางเพศ (MOU) ระหว่าง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะตัวแทนกระทรวงยุติธรรม ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกทำร้ายและถูกล่วงละเมิดทางเพศ (MOU) ร่วมกับปลัดกระทรวงมหาดไทยและปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อขับเคลื่อนงานดังกล่าวให้เข้มแข็งและเป็นรูปธรรมต่อไป
ภายในงานยังมีการเสวนาพิเศษในห้วข้อ “Key steps to reduce child sexual abuse online” ซึ่ง ร้อยตำรวจเอก เขมชาติ ประกายหงษ์มณี ผู้อำนวยการกองคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นผู้เข้าร่วมเสวนาพิเศษในหัวข้อดังกล่าว และหัวข้อ “Protecting Children from sexual abuse : Challenges and Key steps forward” อีกทั้งยังมีการจัดนิทรรศการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศผ่านระบบออนไลน์ และสิทธิความเท่าเทียมกันของเด็ก จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ ศิลปินเมียนมา รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนในประเทศไทย ณ ห้องประชุม ESCAP Hall ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ (UNCC) ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร
-----------------------------------
ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2567
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- IMG_9371.jpeg
- IMG_9372.jpeg
- IMG_9373.jpeg
- IMG_9374.jpeg
- IMG_9375.jpeg
- IMG_9376.jpeg
- IMG_9377.jpeg
- IMG_9379.jpeg
- IMG_9380.jpeg
- IMG_9381.jpeg
- IMG_9382.jpeg
- IMG_9383.jpeg
- IMG_9384.jpeg
- IMG_9386.jpeg
- IMG_9387.jpeg
- IMG_9390.jpeg
- IMG_9391.jpeg
- IMG_9392.jpeg
- IMG_9393.jpeg
- IMG_9382.jpeg
- IMG_9387.jpeg
- IMG_9383.jpeg
- IMG_9396.jpeg