การสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานในคดีความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐ

published: 28/4/2557 13:57:29 updated: 28/4/2557 13:57:29 11781 views   TH
 

การสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานในคดีความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐ

โดย พันตารวจโทพันเลิศ ตั้งศรีไพโรจน์

พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ชานาญการพิเศษ กลุ่มงานคดีความเห็นแย้ง

 

เนื่องจากความผิดตามกฎหมายว่าด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ เป็นคดีพิเศษตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ (๓๓) (๓๔) (๓๖) ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกาหนดคดีพิเศษเพิ่มเติม ตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ (ฉบับที่ ๒) และในระหว่างที่ผู้เขียนทางานที่กรมสอบสวนคดีพิเศษผู้เขียนได้ร่วมเป็นคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษทาการสอบสวนคดีตามกฎหมายว่าด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติหลายคดี และในระหว่างที่ปฏิบัติราชการอยู่ที่สานักงานตารวจแห่งชาติ อีกทั้งจากการตรวจสานวนในการเสนอ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณามีความเห็นตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๓๔ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๕ พบว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีการดาเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติเป็นจานวนมาก และคาดว่าต่อไปในอนาคต กรมสอบสวนคดีพิเศษอาจต้องรับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษอีกจานวนหลายคดี ประกอบกับผู้เขียน เห็นว่าพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษหลายท่าน อาจจะไม่เคยมีประสบการณ์ในการสอบสวนคดีความผิดดังกล่าว จึงอยากจะถ่ายทอดความรู้ที่มีให้แก่ผู้อ่านที่สนใจทุกท่าน เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อทางกรมสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่ทุกท่านต่อไปในอนาคตหากบทความดังกล่าวมีความผิดพลาดประการใดผู้เขียนขอน้อมรับคาวิพากษ์วิจารณ์ แต่ถ้าหากบทความนี้มีประโยชน์ต่อท่านผู้เขียน ผู้เขียนขออุทิศความดีแด่บิดามารดาตลอดจนครูบาร์อาจารย์และผู้บังคับบัญชาในกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ได้ร่วมตรวจพิจารณาและร่วมทาคดีกับผู้เขียนทุกท่าน ตลอดจนท่าน พันตารวจโท วรรณพงษ์ คชรัตน์ ผู้บัญชาการสานักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ ซึ่งเป็นผู้ให้คาเสนอแนะตลอดจนให้แรงบันดาลใจผู้เขียนให้เขียนบทความดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ให้แก่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษตลอดจนผู้ที่สนใจทุกท่าน ถ้าหากไม่ได้ท่านแล้วผู้เขียนคงจะไม่กล้าที่จะเขียนบทความนี้ขึ้น แต่ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดอ่านแล้วเห็นว่าบทความของผู้เขียนมีประโยชน์ต่อท่าน และต้องการจะให้ผู้เขียนเขียนบทความเกี่ยวกับงานสอบสวนในคดีใด หรือคดีพิเศษใด เพื่อจักได้เป็นประโยชน์ต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษตลอดจนผู้ที่สนใจทุกท่าน ขอให้ท่านกรุณาแจ้งให้ผู้เขียนทราบ หากผู้เขียนจะพยายามถ่ายทอดความรู้เท่าที่มีนาเสนอแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน โดยผู้เขียนขอเสนอบทความดังนี้
 
๒  ฐานความผิดและบทกาหนดโทษที่เกี่ยวข้องกับการกระทาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ ที่มีการดาเนินคดีเป็นหลัก มีดังนี้
๑. ความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔
มาตรา ๕๔ ห้ามมิให้ผู้ใด ก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า หรือกระทาด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทาลายป่า หรือเข้ายึดถือหรือครอบครองป่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่จะกระทาภายในเขตที่ได้จาแนกไว้เป็นประเภทเกษตรกรรม และรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาหรือโดยได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๕๕ ผู้ใดครอบครองป่าที่ได้ถูกแผ้วถางโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตราก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นผู้แผ้วถางป่านั้น
มาตรา ๗๒ ตรี ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๔ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าได้กระทาเป็นเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่ผู้กระทาความผิดต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ในกรณีที่มีคาพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทาความผิดตามมาตรานี้ ถ้าปรากฏว่าบุคคลนั้นได้ยึดถือครอบครองป่าที่ตนได้กระทาความผิด ศาลมีอานาจที่สั่งให้ผู้กระทาผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทาผิด ออกไปจากป่านั้นได้ด้วย
มาตรา ๗๔ ทวิ บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะหรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทาความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการ กระทาความผิดตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๙ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคาพิพากษาหรือไม่
๒.ความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗
มาตรา ๑๔ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทาประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทาไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทาด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เว้นแต่
 
๓  (๑) ทาไม้หรือเก็บหาของป่าตามมาตรา ๑๕ เข้าทาประโยชน์หรืออยู่อาศัยตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๖ ทวิ หรือมาตรา ๑๖ ตรี กระทาการตามมาตรา ๑๗ ใช้ประโยชน์ตามมาตรา ๑๘ หรือกระทาการตามมาตรา ๑๙ หรือมาตรา ๒๐
(๒) ทาไม้หวงห้ามหรือเก็บหาของป่าหวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้
มาตรา ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ ต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าได้กระทาเป็นเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่
(๑) ไม้สัก ไม้ยาง ไม้สนเขา หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ หรือ
(๒) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้น หรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือ
(๓) ต้นน้าลาธาร
ผู้กระทาความผิดต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
ในกรณีที่มีคาพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทาความผิดตามมาตรานี้ ถ้าปรากฏว่าบุคคลนั้นได้ยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ศาลมีอานาจสั่งให้ผู้กระทาผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทาผิด ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ด้วย
มาตรา ๓๓ ผู้ใดทาให้เสียหาย ทาลาย ซึ่งหลักเขต ป้าย หรือเครื่องหมายอื่นใดที่จัดให้มีขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
๓. ประมวลกฎหมายที่ดิน
มาตรา ๙ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้ ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง หรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ห้ามมิให้บุคคลใด
(๑) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า
 
๔  (๒) ทาด้วยประการใด ให้เป็นการทาลาย หรือทาให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทราย ในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา หรือ
(๓) ทาสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดิน
มาตรา ๑๐๘ ทวิ นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ถ้าความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทาแก่ที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน หรือที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ถ้าความผิดตามวรรคสองได้กระทาเป็นเนื้อที่เกินกว่าห้าสิบไร่ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ในกรณีที่มีคาพิพากษาว่าผู้ใดกระทาความผิดตามมาตรานี้ ศาลมีอานาจสั่งในคาพิพากษาให้ผู้กระทาความผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทาความผิดออกไปจากที่ดินนั้นด้วย
บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทาความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทาความผิดดังกล่าว ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคาพิพากษาหรือไม่
หลักในการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานจะใช้หลักตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่สาคัญมีดังนี้
๑. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หลักกฎหมายที่สาคัญได้แก่
มาตรา ๑๓๑ ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทาได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทาผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา
มาตรา ๑๓๑/๑ ในกรณีที่จาเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามมาตรา ๑๓๑ ให้พนักงานสอบสวนมีอานาจให้ทาการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใด ๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้
ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจาคุกอย่างสูงเกินสามปี หากการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่ง จาเป็นต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน น้าลาย ปัสสาวะ อุจจาระ สาร
 
๕  คัดหลั่ง สารพันธุกรรมหรือส่วนประกอบของร่างกายจากผู้ต้องหา ผู้เสียหายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอานาจให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญดาเนินการตรวจดังกล่าวได้ แต่ต้องกระทาเพียงเท่าที่จาเป็นและสมควรโดยใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่จะกระทาได้ ทั้ง จะต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรืออนามัยของบุคคลนั้น และผู้ต้องหา ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องให้ความยินยอม หากผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายไม่ยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือผู้ต้องหาหรือ ผู้เสียหายกระทาการป้องปัดขัดขวางมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องให้ความยินยอมโดย ไม่มีเหตุอันสมควร ให้ สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามผลการตรวจพิสูจน์ที่หากได้ ตรวจพิสูจน์แล้วจะเป็นผลเสียต่อผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายนั้นแล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๓๒ เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐาน ให้พนักงานสอบสวนมีอานาจดั่งต่อไปนี้
(๑) ตรวจตัวผู้เสียหายเมื่อผู้นั้นยินยอม หรือตรวจตัวผู้ต้องหา หรือตรวจสิ่งของหรือที่ทางอันสามารถอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ให้รวมทั้งทาภาพถ่าย แผนที่ หรือภาพวาดจาลอง หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือหรือลายเท้า กับให้บันทึกรายละเอียดทั้งหลายซึ่งน่าจะกระทาให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น
ในการตรวจตัวผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง หากผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาเป็นหญิง ให้จัดให้เจ้าพนักงานซึ่งเป็นหญิงหรือหญิงอื่นเป็นผู้ตรวจ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาจะขอนาบุคคลใดมาอยู่ร่วมในการตรวจนั้นด้วยก็ได้
(๒) ค้นเพื่อพบสิ่งของ ซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทาผิด หรือได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทาผิด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยค้น
(๓) หมายเรียกบุคคลซึ่งครอบครองสิ่งของ ซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้แต่บุคคลที่ถูกหมายเรียกไม่จาต้องมาเอง เมื่อจัดส่งสิ่งของมาตามหมายแล้ว ให้ถือเสมือนได้ปฏิบัติตามหมาย
(๔) ยึดไว้ซึ่งสิ่งของที่ค้นพบหรือส่งมาดั่งกล่าวไว้ในอนุมาตรา (๒) และ (๓)
มาตรา ๑๓๓ พนักงานสอบสวนมีอานาจออกหมายเรียกผู้เสียหายหรือบุคคลใดซึ่งมีเหตุ อันควรเชื่อว่าถ้อยคาของเขาอาจเป็นประโยชน์แก่คดีให้มาตามเวลาและสถานที่ใน หมายแล้วให้ถามปากคาบุคคลนั้นไว้
การถามปากคานั้นพนักงานสอบสวนจะให้ผู้ให้ถ้อยคาสาบานหรือปฏิญาณตัวเสียก่อนก็ได้ และต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยพยานบุคคล
 
๖  ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนตักเตือน พูดให้ท้อใจหรือใช้กลอุบายอื่นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคา ซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ
ใน กรณีที่มีความจาเป็นต้องจัดให้ผู้เสียหายหรือพยานยืนยันตัวผู้กระทาความผิด ในชั้นจับกุมหรือชี้ตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจ หรือพนักงานสอบสวนจัดให้มีการยืนยันตัวผู้กระทาความผิดหรือชี้ตัวผู้ต้องหา ในสถานที่ที่เหมาะสม และสามารถจะป้องกันมิให้ผู้กระทาความผิดหรือผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหายหรือ พยาน โดยให้คานึงถึงความปลอดภัยของผู้เสียหายหรือพยานเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์ แห่งกรณี เว้นแต่ผู้เสียหายหรือพยานนั้นยินยอม และให้บันทึกความยินยอมนั้น
๒. พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ หลักกฎหมายที่สาคัญได้แก่
มาตรา ๒๒ เพื่อประโยชน์ในการประสานการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการกระทาความผิดเกี่ยวกับคดีพิเศษ ให้ กคพ. มีอานาจออกข้อบังคับการปฏิบัติหน้าที่ในคดีพิเศษระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
(๑) วิธีปฏิบัติระหว่างหน่วยงานเกี่ยวกับการรับคาร้องทุกข์หรือคากล่าวโทษ การดาเนินการเกี่ยวกับหมายเรียกและหมายอาญา การจับ การควบคุม การขัง การค้น หรือการปล่อยชั่วคราว การสืบสวน การสอบสวน การเปรียบเทียบปรับ การส่งมอบคดีพิเศษ และการดาเนินการอื่นเกี่ยวกับคดีอาญาในระหว่างหน่วยงานของรัฐที่มีอานาจหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการกระทาความผิดอาญา
(๒) ขอบเขตความรับผิดชอบของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจ เจ้าพนักงานอื่นของรัฐ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่ง ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านผลกระทบของการกระทาความผิด และประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการกระทาความผิดอาญาได้อย่างทั่วถึง ในการนี้อาจกาหนดให้กรณีใดต้องดาเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยก็ได้
(๓) การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามคดีพิเศษ
(๔) การสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ
 ๗  เมื่อ มีข้อบังคับตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่กาหนดนั้น ถ้าข้อบังคับดังกล่าวเป็นการกาหนดหน้าที่ในระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็น เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตารวจ หรือพนักงานสอบสวนในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ให้ถือว่าการดาเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องเป็น การดาเนินการของผู้มีอานาจหน้าที่สืบสวนและสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา
ใน ระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง สาหรับคดีพิเศษในเรื่องใด ให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษในเรื่องนั้นเป็นไป ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะตกลงกัน เว้นแต่ กคพ. จะมีมติเป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ทาการสอบสวนคดีอาญาเรื่องใดไปแล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าคดีนั้นเป็นคดีพิเศษ เมื่อพนักงานสอบสวนส่งมอบสานวนการสอบสวนคดีดังกล่าวให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษตามวิธีปฏิบัติในวรรคหนึ่ง (๑) แล้ว ให้ถือว่าสานวนการสอบสวนที่ส่งมอบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสานวนการสอบสวนคดีพิเศษ
มาตรา ๒๒/๑ ในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการกระทาความผิด เกี่ยวกับคดีพิเศษกรมสอบสวนคดีพิเศษอาจขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ อื่นของรัฐให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนหรือเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม
ให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคหนึ่งให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ตามสมควรแก่กรณี โดยได้รับค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนอื่นใดที่จาเป็นในการช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้การดาเนินงานตามพระราชบัญญัตินี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรา ๒๓/๑ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าคดีความผิดทางอาญาใดเป็นคดีพิเศษตามมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๑) ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอานาจสืบสวนคดีดังกล่าวได้
ในกรณีที่อธิบดีเห็นสมควรเสนอให้ กคพ. มีมติให้คดีความผิดทางอาญาใดเป็นคดีพิเศษตามมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๒) อธิบดีจะสั่งให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษแสวงหาพยานหลักฐานเบื้องต้น เพื่อนาเสนอ กคพ. ก็ได้ ในการนี้ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอานาจสืบสวนคดีนั้นตามระเบียบที่ กคพ. กาหนด
มาตรา ๒๔ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอานาจดังต่อไปนี้ด้วย
 
๘  (๑) เข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น เมื่อมีเหตุสงสัยตามสมควรว่ามีบุคคลที่มีเหตุสงสัยว่ากระทาความผิดที่เป็นคดีพิเศษหลบซ่อนอยู่ หรือมีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทาความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทาความผิดที่เป็นคดีพิเศษ หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้บุคคลนั้นจะหลบหนีไป หรือทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทาลาย หรือทาให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
(๒) ค้นบุคคล หรือยานพาหนะที่มีเหตุสงสัยตามสมควรว่ามีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทาความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทาความผิดที่เป็นคดีพิเศษ หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
(๓) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกให้สถาบันการเงิน ส่วนราชการ องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อให้ถ้อยคา ส่งคาชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชีเอกสาร หรือหลักฐานใด ๆ มาเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณา
(๔) มีหนังสือสอบถาม หรือเรียกบุคคลใด ๆ มาเพื่อให้ถ้อยคา ส่งคาชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชีเอกสาร หรือหลักฐานใด ๆ มาเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณา
(๕) ยึด หรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบ หรือที่ส่งมาดังกล่าวไว้ใน (๑) (๒) (๓) และ (๔)
การใช้อานาจตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษปฏิบัติตามข้อบังคับที่ กคพ. กาหนด
เฉพาะ การใช้อานาจตามวรรคหนึ่ง (๑) นอกจากพนักงานสอบสวนคดีพิเศษต้องดาเนินการเกี่ยวกับวิธีการค้นตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษแสดงความบริสุทธิ์ก่อนการเข้าค้น รายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป และบันทึกเหตุสงสัยตามสมควรและเหตุอันควรเชื่อที่ทาให้สามารถเข้าค้นได้เป็น หนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถานหรือสถานที่ค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษส่งมอบสาเนาหนังสือนั้นให้แก่ผู้ครอบครองดังกล่าว ในทันทีที่กระทาได้ และหากเป็นการเข้าค้นในเวลากลางคืนภายหลังพระอาทิตย์ตก พนักงานสอบสวนคดีพิเศษผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นต้องเป็นข้าราชการพลเรือน ตาแหน่งตั้งแต่ระดับ ๗ ขึ้นไปด้วย
ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นส่งสาเนาบันทึกเหตุสงสัยตามสมควรและเหตุอันควรเชื่อตามวรรคสาม และสาเนาบันทึกการตรวจค้นและบัญชีทรัพย์ที่ยึดหรือ
 ๙  อายัดต่อศาลจังหวัดที่มีอานาจเหนือท้องที่ที่ทาการค้น หรือศาลอาญาในเขตกรุงเทพมหานครภายในสี่สิบแปดชั่วโมงหลังจากสิ้นสุดการตรวจค้น เพื่อเป็นหลักฐาน
พนักงาน สอบสวนคดีพิเศษระดับใดจะมีอานาจหน้าที่ตามที่ได้กาหนดไว้ตามวรรคหนึ่งทั้ง หมดหรือแต่บางส่วน หรือจะต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลใดก่อนดาเนินการให้เป็นไปตามที่อธิบดีกาหนด โดยทาเอกสารให้ไว้ประจาตัวพนักงานสอบสวนคดีพิเศษผู้ได้รับอนุมัตินั้นและ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษผู้นั้นต้องแสดงเอกสารดังกล่าวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทุกครั้ง
มาตรา ๒๕ ใน กรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เอกสารหรือข้อมูลข่าวสารอื่นใดซึ่งส่งทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการสื่อสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด ถูกใช้หรืออาจถูกใช้ เพื่อประโยชน์ในการกระทาความผิดที่เป็นคดีพิเศษพนักงานสอบสวนคดีพิเศษซึ่ง ได้รับอนุมัติจากอธิบดีเป็นหนังสือจะยื่นคาขอฝ่ายเดียวต่ออธิบดีผู้พิพากษา ศาลอาญาเพื่อมีคาสั่งอนุญาตให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร ดังกล่าวก็ได้
การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาพิจารณาถึงผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิอื่นใดประกอบกับเหตุผลและความจาเป็นดังต่อไปนี้
(๑) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทาความผิดหรือจะมีการกระทาความผิดที่เป็นคดีพิเศษ
(๒) มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกระทาความผิดที่เป็นคดีพิเศษจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าว
(๓) ไม่อาจใช้วิธีการอื่นใดที่เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าได้
การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาสั่งอนุญาตได้คราวละไม่เกินเก้าสิบวันโดยกาหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ และให้ผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารในสิ่งสื่อสารตามคาสั่งดังกล่าวจะต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรานี้ ภายหลังที่มีคาสั่งอนุญาต หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าเหตุผลความจาเป็นไม่เป็นไปตามที่ระบุหรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจเปลี่ยนแปลงคาสั่งอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร
เมื่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ดาเนินการตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว ให้รายงานการดาเนินการให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาทราบ
 
๑๐  บรรดาข้อมูลข่าวสารที่ได้มาตามวรรคหนึ่ง ให้เก็บรักษาเฉพาะข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกระทาความผิดที่เป็นคดีพิเศษซึ่งได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง และให้ใช้ประโยชน์ในการสืบสวนหรือใช้เป็นพยานหลักฐานเฉพาะในการดาเนินคดีพิเศษดังกล่าวเท่านั้น ส่วนข้อมูลข่าวสารอื่นให้ทาลายเสียทั้งสิ้น ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่ กคพ. กาหนด
มาตรา ๒๗ ในกรณีจาเป็นและเพื่อประโยชน์ในการดาเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อธิบดีหรือผู้ได้รับมอบหมายมีอานาจให้บุคคลใด จัดทาเอกสารหรือหลักฐานใดขึ้นหรือเข้าไปแฝงตัวในองค์กรหรือกลุ่มคนใด เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่อธิบดีกาหนด
การจัดทาเอกสารหรือหลักฐานใด หรือการเข้าไปแฝงตัวในองค์กร หรือกลุ่มคนใดเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทาโดยชอบ
มาตรา ๓๐ ในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษคดีใดมีเหตุจาเป็นต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นพิเศษ อธิบดีอาจแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนั้นเป็นที่ปรึกษาคดีพิเศษได้
ให้ที่ปรึกษาคดีพิเศษได้รับค่าตอบแทนตามที่กาหนดในระเบียบของกระทรวงยุติธรรมโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๓๒ ใน กรณีที่ กคพ. เห็นว่า เพื่อประสิทธิภาพในการปราบปรามการกระทาความผิดคดีพิเศษ กคพ. จะให้ความเห็นชอบให้คดีพิเศษคดีหนึ่งคดีใดหรือคดีประเภทใดต้องมีพนักงาน อัยการหรืออัยการทหาร แล้วแต่กรณี มาสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือมาปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับพนักงาน สอบสวนคดีพิเศษเพื่อให้คาแนะนาและตรวจสอบพยานหลักฐานตั้งแต่ชั้นเริ่มการสอบ สวน แล้วแต่กรณี ก็ได้ เว้นแต่การสอบสวนคดีพิเศษที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๑) (ค) หรือ (ง) ต้องมีพนักงานอัยการหรืออัยการทหารมาสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษทุก คดี แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ การสอบสวนร่วมกันหรือการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กคพ. กาหนด
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่มีความจาเป็นเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษ เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ รัฐมนตรีอาจเสนอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีคาสั่งตามกฎหมายว่า ด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานอื่นมา ปฏิบัติหน้าที่ในกรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อช่วยเหลือในการสืบสวนและสอบสวนคดี พิเศษนั้นได้
 
๑๑  ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคหนึ่งเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ สาหรับการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษที่ได้รับการแต่งตั้ง
มาตรา ๔๑ ผู้ใดไม่ให้ความสะดวก หรือไม่ให้ถ้อยคา หรือไม่ส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐานใดแก่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษตามมาตรา ๒๔ วรรคหนึ่ง (๓) หรือ (๔) แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
มาตรา ๔๔ บรรดาคดีพิเศษที่ค้างการดาเนินการและคดียังไม่ถึงที่สุดอยู่ในวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงเป็นอานาจหน้าที่ของพนักงานผู้มีอานาจสอบสวนคดี อาญาตามกฎหมายนั้น ๆ ต่อไปจนคดีถึงที่สุด เว้นแต่ กคพ. จะมีมติให้เป็นอานาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
ขั้นตอนการสอบสวนผู้กล่าวหา ผู้ต้องหา พยานและการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดาเนินคดีเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าวมี ดังนี้
๑. การพิจารณาว่าเป็นคดีพิเศษหรือไม่ก่อนที่จะดาเนินการสืบสวนสอบสวน
๑.๑. คดีที่เกิดเป็นความผิดอาญาหรือแพ่ง หรือไม่เป็น ถ้าเป็นความผิดอาญาเป็นความผิดซึ่งอยู่ในอานาจการสอบสวนตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๒๑, ๒๓/๑, ๔๔ หรือไม่
๑.๒ คดีที่เกิดอยู่ในเขตอานาจการสอบสวนหรือไม่ โดยดูจากข้อ ๑.๑ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘,๑๙,๒๐
๑.๓ คดีที่เกิดอยู่ในอายุความร้องทุกข์หรือไม่ โดยดูจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๕,๙๖
๑.๔ ผู้มาแจ้งความร้องทุกข์มีอานาจร้องทุกข์เป็นคดีพิเศษหรือไม่ โดยดูจาก ประกาศ กคพ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการร้องขอและเสนอให้ กคพ.มีมติให้คดีความผิดทางอาญาใดเป็นคดีพิเศษ แต่ถ้าเป็นคดีพิเศษตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๒๑ (๑) , ๒๓/๑ วรรคแรก แต่ใน มาตรา ๒๓/๑ วรรคสอง อยู่ในอานาจของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
๑.๕ คดีที่เกิดอยู่ในอานาจหน้าที่เจ้าพนักงานฝ่ายอื่น สหวิชาชีพ หรือพนักงานอัยการร่วมสอบสวนหรือไม่ เช่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๐,๑๓๓ ทวิ, ๑๓๔/๑-๑๓๔/๔ พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๓๒ เป็นต้น
 
๑๒  ๒.การบันทึกคาให้การของผู้กล่าวหา-ผู้ต้องหา-พยาน
๒.๑ การบันทึกคาให้การของผู้กล่าวหา-พยาน จะต้องใช้หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔) (๗) (๘), ๑๒๐, ๑๒๑ วรรคสอง, ๑๒๖, ๑๒๙,๑๓๐,๑๓๑,๑๓๑/๑, ๑๓๒,๑๓๓,๑๓๓ ทวิ,๑๓๓ ตรี,๑๓๙ และ พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๓๒ เป็นต้น
ประเด็นการตั้งคาถามในการสอบปากคาให้ครบถ้วนตามประเด็นแห่งคดี จะใช้หลักเทคนิคการตั้งคาถาม ๕W ๑H ได้แก่ Who What Where When Why และ How
Who หมายถึง คดีนี้ผู้ใดเป็นผู้กล่าวหา,ผู้ต้องหา,และผู้ใดเป็นพยานบุคคลในคดี พนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนให้ได้ความว่าคดีนี้ผู้ใดเป็นผู้กล่าวหาหรือผู้กล่าวโทษ,ผู้ต้องหา,หรือพยานบุคคลในคดี ตลอดจนชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับ เป็นต้น
What หมายถึง คดีนี้มีการกระทาความผิดอาญาอะไรเกิดขึ้น พนักงานสอบสวนจะต้องทาการสอบสวนถึงการกระทาทั้งหลายที่ผู้กล่าวหา,ผู้กล่าวโทษและพยานบุคคลอ้างว่าผู้ต้องหาได้กระทาความผิดข้อหาใด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดซึ่งเกิดการกระทานั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่พนักงานสอบสวนตลอดจนผู้ที่อ่านสานวนหรือตรวจสานวนจะเข้าใจข้อเท็จจริงได้ดี ว่าคดีนี้เป็นคดีอาญาหรือคดีแพ่ง หรือไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดทางอาญาหรือทางแพ่งแต่อย่างใด
Where หมายถึง สถานที่ซึ่งเกิดการกระทาความผิดนั้นๆ เพื่อที่จะได้ทราบว่าพนักงานสอบสวนมีอานาจสอบสวนหรือไม่ พนักงานอัยการที่รับสานวนมีอานาจฟ้องหรือไม่ และศาลจะได้พิจารณาว่ามีอานาจพิจารณาคดีนี้หรือไม่
When หมายถึง มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่เกิดเหตุว่าเกิดขึ้นเมื่อใด เช่น กลางวัน หรือกลางคืน เพื่อที่พนักงานสอบสวนจะได้พิจารณาว่าการกระทาดังกล่าวอยู่ความผิดที่มีบทฉกรรจ์ขึ้นหรือไม่ อยู่ในอายุความฟ้องคดีหรือไม่ การกระทาความผิดดังกล่าวมีกี่กรรม เช่น ลักทรัพย์ในเวลากลางวัน จะมีบทลงโทษน้อยกว่าลักทรัพย์ในเวลากลางคืน มีอานาจสอบสวนหรือไม่ พนักงานอัยการที่รับสานวนจะได้ฟ้องถูกข้อหา และศาลจะได้พิจารณาว่าพนักงานอัยการฟ้องถูกข้อหาหรือไม่
Why หมายถึงทาไมที่เกิดเหตุในคดีนี้ขึ้น เพราะนอกจากพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนผู้กล่าวหา,ผู้กล่าวโทษ และพยานบุคคล เพื่อตอบคาถาม Who What Where และ When ดังกล่าวข้างต้น แล้วพนักงานสอบสวนควรจะสอบสวนถึงเหตุผลทาไมถึงเหตุการณ์ในคดีนี้ เพราะจะเกี่ยวข้องกับการที่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ตลอดจนศาล จะได้พิจารณาถึงประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๑ ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป ได้แก่ หมวด ๓ โทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย หมวด ๔ ความรับผิดในทางอาญา ตลอดจนพิจารณาว่าผู้ต้องหากระทาความผิดในบทฉกรรจ์หรือไม่ เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นต้น โดย Why จะเป็นตัวเชื่อมโยงถึง คาถาม Who What Where และ When เพื่อทาให้ทราบว่าพนักงานสอบสวน พนักงาน
 
๑๓  อัยการ ตลอดจนศาล ได้ทราบว่าคดีนี้ผู้ต้องหามีเจตนากระทาความผิดหรือไม่ หรือเป็นการกระทาโดยไม่เจตนา หรือกระทาโดยประมาท และการกระทาของผู้ต้องหาได้กระทาไปโดยความจาเป็น เป็นการป้องกันตัว หรือบันดาลโทษะ เป็นต้น
How หมายถึงคดีนี้เกิดขึ้นอย่างไร โดยพนักงานสอบสวนจะต้องกาหนดแนวทางการสอบสวนว่าคดีนี้มีสาระสาคัญ แยกเป็นกี่ประเด็น ประเด็นใหญ่ ๆ มีอะไรบ้าง ในประเด็นหลักมีประเด็นย่อย ๆ มีตัวอย่าง มีเหตุผล เพื่อสนับสนุนประเด็นหลักอย่างไรบ้าง โดยจะต้องเชื่อมโยงคาถามของ Who What Where When และ Why แล้วสรุปให้ได้ว่า มีการกระทาที่ผู้กล่าวหาและผู้กล่าวโทษกล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทาผิด โดยมีข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทานั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทาให้เมื่อพนักงานสอบสวนทาการแจ้งข้อหาผู้ต้องหาจะเข้าใจข้อหาได้ดี หากสามารถอ้างมาตราในกฎหมายหรือข้อหาหรือฐานความผิดในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทาเช่นนั้นเป็นความผิดด้วยก็จะดี
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพนักงานสอบสวนใช้เทคนิคการตั้งคาถามเพื่อสอบสวนผู้กล่าวหา,ผู้กล่าวโทษ ผู้ต้องหา ตลอดจนผู้ต้องหา โดยยึดตามหลัก ๕ W ๑ H โดยต้องคานึงถึงคือความเชื่อมโยง ต่อเนื่องและสอดคล้องในแต่ละข้อของ ๕ W ๑ H เพื่อไม่ให้บุคคลที่ถูกสอบสวน ตลอดจนผู้บังคับบัญชา พนักงานอัยการ และศาล เมื่อดูคาให้การดังกล่าวแล้วเกิดความสับสน หรือตีความหมายในคาให้การผิดไปจากข้อเท็จจริง โดยการสอบสวนนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๓, ๑๓๓ ทวิ, ๑๓๔/๔ บังคับให้พนักงานสอบสวนใช้วิธีถามปากคา ซึ่งก็คือพนักงานสอบสวนจะต้องตั้งคาถามให้ ผู้กล่าวหา,ผู้กล่าวโทษ, ผู้ต้องหา และพยานบุคคล ทีละคาถาม แล้วให้ตอบ จะไม่ใช้วิธีที่พนักงานสอบสวนจะให้ผู้กล่าวหา,ผู้กล่าวโทษ, ผู้ต้องหา และพยานบุคคลเล่าเรื่องให้ฟังแล้วพนักงานสอบสวนทาการจดบันทึกลงในคาให้การแบบร้อยแก้ว แล้วให้ ผู้กล่าวหา,ผู้กล่าวโทษ, ผู้ต้องหา และพยานบุคคล ลงลายมือชื่อในบันทึกคาให้การจะกลายเป็นการสอบสวนไม่ชอบขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๓, ๑๓๓ ทวิ, ๑๓๔/๔ ซึ่งมีผลทาให้การสอบสวนไม่ชอบ ซึ่งมีคาพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๕๒/๒๕๔๕, ๔๘๓๔/๒๕๔๖ ได้พิพากษาสรุปได้ว่า “การสอบสวนที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่มีการสอบสวนในคดีนั้นและมีผลทาให้พนักงานอัยการไม่มีอานาจฟ้องไปด้วย”
๑) แนวคาถามในการสอบสวนพยานบุคคลที่เป็นผู้กล่าวหา,ผู้กล่าวโทษ พยานบุคคล มีดังนี้
๑.๑. มีภูมิลาเนาและพักอาศัยอยู่ที่ใด (โดยเฉพาะที่พักอาศัยจริง) สถานที่ทางานอยู่ที่ใด นอกจากสถานที่ดังกล่าวแล้วสามารถติดต่อได้ที่ใดอีกหรือไม่(ถ้ามีให้ระบุ) รวมทั้งให้ระบุการติดต่อสื่อสารด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น โทรศัพท์หมายเลข หรือทางสื่ออิเล็คโทรนิคอื่นๆ ประวัติการศึกษา เพื่อที่จะทราบว่าคาให้การน่าเชื่อถือเพียงใด ประวัติครอบครัว รายได้ ฐานะความเป็นอยู่ บุคคลที่ใกล้ชิดหรือสามารถติดต่อกับบุคคลดังกล่าวได้ เป็นต้น (พยายามเก็บรายละเอียดให้มากเท่าที่ทาได้
 
๑๔  เพื่อจะใช้ในการติดตามบุคคลดังกล่าวมาเป็นพยานในชั้นสอบสวนเพิ่มเติม หรือในชั้นศาลในภายหลัง)
๑.๒. เกี่ยวข้องกับคดีนี้อย่างไร (ในฐานะผู้เสียหาย,ผู้กล่าวโทษ,พยานที่เห็นเหตุการณ์หรือพยานบอกเล่า เป็นต้น)
๑.๓ ทราบหรือรู้เห็นเหตุการณ์ในคดีนี้อย่างไร (หากพนักงานสอบสวนไม่มีคาถามย่อยๆ ให้บุคคลดังกล่าวเล่าเหตุการณ์ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ แล้วบันทึกคาให้การดังกล่าวโดยย่อๆ หรือพอสังเขปแบบร้อยแก้ว)
๑.๔. มีผู้ใดทราบ ร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ หรือมีพยานหลักฐานอื่นอีกหรือไม่ (เป็นคาถามเพื่อที่จะทราบว่ามีพยานบุคคล พยานวัตถุและพยานเอกสารในคดีนี้อะไรบ้าง เพื่อที่จะได้นามารวบรวมไว้เป็นพยานหลักฐานในสานวนการสอบสวน)
๑.๔. คาถามอื่น ๆ เพื่อให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น เหตุเกิดที่ใด เมื่อใด ผู้ที่ร่วมกระทาความผิดในคดีนี้มีกี่คน เป็นใคร อยู่ที่ใด ตาหนิรูปพรรณตลอดจนถิ่นที่อยู่ อยู่ที่ใด ที่เกิดเหตุเป็นอย่างไร มีแสงสว่างในที่เกิดเหตุหรือไม่ เห็นที่เกิดเหตุชัดเจนหรือไม่ และคาถามดังต่อไปนี้
(๑) เกี่ยวกับการตรวจสอบ วัด ขนาด ชนิด จานวน ของกลาง และพื้นที่ที่เกิดเหตุ เช่น ถ้าบุกรุกพื้นที่จานวนเท่าใดไร่ ไม้แปรรูป จานวนแผ่น เป็นต้น
(๒) เกี่ยวกับจุดพิกัดที่เกิดเหตุ ถ้ามีการระบุว่าใช้เครื่องมือตรวจสอบให้สอบถามว่าใช้เครื่องมือใด ผลการวัดค่าเป็นอย่างไร อยู่ในเขตที่ดินสาธารณะ ป่าไม้ หรือป่าสงวนแห่งชาติหรือป่าประเภทใด อย่างไร
(๓) สถานที่เกิดเหตุ หมู่ที่ ตาบล อาเภอ จังหวัด อยู่ในเขตที่ดินสาธารณะ ป่าไม้ หรือป่าสงวนแห่งชาติหรือป่าประเภทใด อย่างไร
๒) แนวคาถามในการบันทึกคาให้การผู้ต้องหา
๒.๑ ไม่ต้องบันทึกการแจ้งสิทธิ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗/๑ หรือจะบันทึกก็ได้ เนื่องจากมีคาพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๑๕/๒๕๔๗ พิพากษาสรุปได้ว่า “ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในบันทึกคาให้การของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน อันจะเป็นเหตุให้การสอบสวนไม่ชอบและไม่อาจรับฟังบันทึกคาให้การชั้นสอบสวนของจาเลยเป็นพยานหลักฐานได้” แต่พนักงานสอบสวนจะต้องมีการแจ้งสิทธิตามกฎหมายให้ผู้ต้องหาทราบก่อนเริ่มทาการบันทึกคาให้การของผู้ต้องหามิฉะนั้นจะเป็นการสอบสวนไม่ชอบทันที
๒.๒ การแจ้งข้อหา.จะต้องดาเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๔ โดยข้อหาที่แจ้งจะต้องมีข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการกระทาที่อ้างว่าผู้ต้องหาได้กระทาผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทานั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทาให้ผู้ต้องหาจะเข้าใจข้อหาได้ดี และอ้างมาตราใน
 
๑๕  กฎหมายหรือข้อหาหรือฐานความผิดในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทาเช่นนั้นเป็นความผิดให้ผู้ต้องหาทราบ
๒.๓ กรณีมีผู้ร่วมถามปากคาหรือร่วมฟังการสอบปากคาผู้ต้องหา ให้บันทึกรายละเอียด ชื่อ ชื่อสกุล สถานภาพ ที่อยู่ ของผู้เข้าร่วมไว้ในคาให้การโดยละเอียดชัดเจน เพียงพอที่จะสามารถติดตามตัวในภายหลังได้
๓) ในการสอบสวนพยานผู้ชานาญการพิเศษหรือแพทย์ผู้ตรวจชันสูตรบาดแผลหรือศพ ซึ่งได้ออกรายงานผลการตรวจไว้แล้ว ไม่จาเป็นต้องสอบปากคาอีก เว้นแต่มีประเด็นที่ต้องสอบสวนนอกเหนือจากรายงานผลการตรวจหรือมีประเด็นอื่นที่ยังไม่สิ้นสงสัย
๓. การทาแผนที่และถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุ พนักงานสอบสวนควรต้องออกไปตรวจที่เกิดเหตุพร้อมถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐานชั้นหนึ่งก่อน โดยให้ผู้กล่าวหาหรือผู้กล่าวโทษ พยานบุคคล พยานผู้เชี่ยวชาญ ชี้แสดงแนวเขต หากมีการหลักฐานหรือมีการก่อสร้างรุกล้าที่ดินสาธารณะ เขตป่าไม้ประเภทใด ป่าสงวนแห่งชาติ ก็ให้ถ่ายภาพไว้ด้วย การถ่ายภาพต้องปรากฏจุดหลัก ซึ่งยากแก่การรื้อถอนและให้ปรากฏระยะห่างด้วยการใช้ไม้วัดระยะวางทาบ
การตรวจสถานที่เกิดเหตุ หากสามารถติดต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เจ้าพนักงานป่าไม้ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในเขตท้องที่เกิดเหตุหรือจากส่วนกลางมาร่วมตรวจสอบด้วย ก็ให้ออกไปตรวจร่วมกันในทันที หากไม่สามารถตรวจในขณะนั้น ให้ทาหนังสือแจ้งขอความร่วมมือแล้วขอผลการตรวจมาประกอบสานวนคดี
จัดทาแผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่เกิดเหตุและถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุ ผู้ต้องหา และของกลางในที่เกิดเหตุประกอบสานวน
ลงจุดเกิดเหตุในภาพถ่ายแผนที่ทหาร มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ โดยใช้เครื่อง GPS หาค่าพิกัด (ถ้ามี) พร้อมกับให้ผู้เชี่ยวชาญอ่านภาพถ่ายพร้อมกับคาอธิบายถึงร่องรอยการบุกรุกที่ดินสาธารณะ เขตป่าไม้ประเภทใด เขตป่าสงวนแห่งชาติ จานวนเนื้อที่เท่าใด มีร่องรอยการบุกรุกหรือมีการทาประโยชน์ อย่างไร จานวนประมาณกี่ไร่ อยู่ในเขตที่ดินสาธารณะจานวนกี่ไร่ เขตป่าไม้ประเภทใดจานวนกี่ไร่ เขตป่าสงวนแหงชาติจานวนกี่ไร่ เขต ส.ป.ก. ๔-๐๑ จานวนกี่ไร่ ลงจุดเกิดเหตุในแผนที่ท้ายกฎกระทรวงในกรณีเป็นป่าสงวนแห่งชาติ (ถ้ามี)
จัดทาบัญชีของกลาง (ถ้ามี) จัดทาบัญชีไม้ของกลาง (ถ้ามี)
พระราชกฤษฎีกากาหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.๒๕๓๐ พร้อมบัญชี(ถ้ามี)
พระราชกฤษฎีกากาหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ.๒๕๓๐ พร้อมบัญชี(ถ้ามี)
รายงานผู้บังคับบัญชาตามลาดับชั้นเมื่อมีความคืบหน้าของคดีเป็นระยะพร้อมกับเสนอสานวนให้ตรวจ เพื่อที่ผู้บังคับบัญชาจะได้พิจารณาสั่งสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นที่ขาดตกบกพร่อง เมื่อเวลาสรุปสานวนจะได้ไม่มีปัญหาการถูกผู้บังคับบัญชาสั่งสอบสวนเพิ่มเติมหรือมีความเห็นทางคดีที่แตกต่างจากคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเบื้องต้น
 
๑๖  ๔. การนาผลการตรวจของผู้เชี่ยวชาญที่ทาการตรวจสถานที่เกิดเหตุ หรือตรวจหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ หรือตรวจพยานวัตถุ พยานเอกสาร มาประกอบสานวนการสอบสวน เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๔๓ บัญญัติให้ผู้เชี่ยวชาญอาจทาความเห็นเป็นหนังสือก็ได้แต่ต้องส่งสาเนาหนังสือดังกล่าวให้พนักงานสอบสวนเพื่อพนักงานอัยการจะได้ยื่นส่งต่อศาลโดยผู้เชี่ยวชาญอาจต้องมาเบิกความประกอบ เว้นแต่มีเหตุจาเป็นหรือคู่ความไม่ติดใจซักถามผู้เชี่ยวชาญ
๕. การเรียงลาดับเอกสาร การให้หมายเลขเอกสารในสานวนการสอบสวนทั้งหมด การลงชื่อในสานวนการสอบสวน และการรวบรวมสานวนการสอบสวน
๖. การสรุปรายงานการสอบสวนพร้อมด้วยความเห็นทางคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘ วรรคท้าย, ๑๔๐, ๑๔๑,๑๔๒ ว่ามีความเห็นตามท้องสานวนการสอบสวนว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมสานวนการสอบสวนยังพนักงานอัยการที่มีเขตอานาจสั่งคดี
บทส่งท้าย เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทาการสอบสวนเมื่อจนถึงขั้นสรุปสานวนการสอบสวนมีความเห็นทางคดีแล้ว สิ่งที่พนักงานสอบสวนทุกคนจะต้องพึงยึดถือหลักในการดาเนินคดีอาญาของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้เขียนขออนุญาตยกคาให้โอวาทของท่านอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (นายธาริต เพ็งดิษฐ์) ได้เคยกล่าวไว้ในงานอาลาผู้เกษียณอายุราชการ วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๓ สรุปได้ว่า พนักงานสอบสวนมีอานาจหน้าที่ในการอานวยความยุติธรรม และเป็นการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ในการทางานของพนักงานสอบสวนจะต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนคานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นด้วย พนักงานสอบสวนพึงให้ความคุ้มครองและการปฏิบัติที่เหมาะสมตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ พนักงานสอบสวนกับผู้ต้องหาไม่ใช่ คู่ชกมวยกันที่จะต้องชกกันเอาเป็นเอาตายกัน ซึ่งโอวาทดังกล่าวสอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนในกระบวนยุติธรรมทางอาญา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๒,๓๕,๓๙,๔๐ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ และประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘, ๑๐๘/๑, ๑๓๔ โดยสรุปการคุ้มครองสิทธิ มีดังนี้ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรมหากพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษสามารถปฏิบัติได้ดังเช่นที่ท่าน อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (นายธาริต เพ็งดิษฐ์) ได้เคยกล่าวไว้โอกาสที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษจะถูกผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทาของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและทางอาญาตลอดจนถูกดาเนินการทางวินัยคงไม่มี
 
พันตารวจโทพันเลิศ ตั้งศรีไพโรจน์
พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ชานาญการพิเศษฯ
ปฏิบัติราชการ กลุ่มงานคดีความเห็นแย้ง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๓

 

Documents related